จริยธรรมการตีพิมพ์

(COPE Code of Conduct)

มาตรฐานทางจริยธรรม

หน้าที่แและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ:
General duties and responsibilities of Editor

หน้าที่ของบรรณาธิการต่องานทั้งหมดที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร มีดังนี้:

Editors should be responsible for everything published in their journals. They should:

    1. ดำเนินการให้ตรงตามความประสงค์ของผู้อ่านและผู้เขียน
    strive to meet the needs of readers and authors;
    2. ทำการปรับปรุงวารสารอย่างสม่ำเสมอ
    constantly improve the journal;
    3. ทำการรับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
    ensure the quality of the material they publish;
    4. สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
    champion freedom of expression;
    5. คงไว้ซึ่งความถูกต้องของรายงานการศึกษา
    maintain the integrity of the academic record;
    6. ปกป้องมาตรฐานทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
    preclude business needs from compromising intellectual standards;
    7. ทำการชี้แจงการแก้ไขด้วยความเต็มใจ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอน และการขออภัย หากจำเป็น
    always be willing to publish corrections, clarifications, retractions and apologies when needed.

จริยธรรมในการตีพิมพ์ วารสารวารสารนิเทศศาสตร์ สวนสุนันทา

วารสารวารสารนิเทศศาสตร์ สวนสุนันทา มุ่งเน้นการตีพิมพ์วารสารที่มีคุณภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความตามข้อกำหนดของ Committee on Publication Ethics (COPE) จึงกำหนดจริยธรรมในการตีพิมพ์ ดังนี้


บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน (Duties of Authors)

    1. ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ไม่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น
    2. ผู้เขียนต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
    3. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ หากมีการนำผลงานของบุคคลอื่นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงให้ครบถ้วนท้ายบทความ
    4. ผู้เขียนต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
    5. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
    6. บทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาต้องผ่านการตรวจสอบความซ้ำซ้อนด้วยระบบอักขราวิสุทธิ์ โดยมีเกณฑ์การตรวจสอบไม่เกิน ร้อยละ 20
    7. ผู้เขียนควรระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในบทความ (ถ้ามี)
    8. ผู้เขียนต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

    1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (Confidentiality)
    2. หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความ ตระหนักว่า ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
    3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงานไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
    4. ผู้ประเมินบทความต้องระบุผลงานวิจัยที่สำคัญ ๆ และสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้เขียนไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย นอกจากนี้ หากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย
    5. ผู้ประเมินต้องประเมินผลงานภายในระยะเวลาที่กำหนด

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)

    1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพและรูปแบบของบทความ ตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร โดยปราศจากอคติต่อบทความและผู้เขียน เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
    2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
    3. บรรณาธิการพิจารณาคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
    4. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน และตรวจสอบในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ หากพบว่ามีความเหมือน ความซ้ำซ้อน หรือการคัดลอกผลงานอื่น ๆ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้เขียนหลักทันที เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการ "ตอบรับ" หรือ "ปฏิเสธ" การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ
    5. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความเพราะความสงสัยหรือไม่แน่ใจ ต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ข้อสงสัยนั้นๆ ก่อน
    6. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ผู้ประเมิน และทีมผู้บริหาร